หน้าเว็บ

ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เขาตัดปั๊มติ๊ก….กันอย่างไร



“ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้ง เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ.2551”
…ข้อ12 กรณีที่รถใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลิ้นเปิดปิดน้ำมันต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อใช้ก๊าซ… ถ้าอ่านตามข้อกฏหมายที่เขียนไว้นั่นก็หมายความว่า รถทุกคันที่ติดตั้งก๊าซก็ต้องติดตั้งลิ้นเปิดปิดน้ำมันหรือที่เรียกกันว่าติ๊กตัดน้ำมันทุกคัน ทีนี้เรามาพูดถึงตัวติ๊กตัดน้ำมันว่าอยู่ที่ไหนของรถเวลาติดตั้งแก๊ส โดยปกติการติดตั้งติ๊กตัดน้ำมันนั้นช่างจะติดตั้งในรถยนต์ที่เป็นระบบคาร์บูเรเตอร์ที่ทำการติดตั้งก๊าซระบบดูด โดยจะติดตั้งตรงท่อยางเบนซินก่อนที่จะเข้าชุดคาร์บูเรเตอร์ของรถยนต์ เพื่อตัดการจ่ายน้ำมันไม่ให้เข้าไปผสมกับก๊าซ ไม่งั้นเครื่องยนต์จะเดินเครื่องแบบสำลักเพราะเชื้อเพลิงหนาเกินไปน้ำมันปนกับก๊าซ
แล้วถ้าเป็นเครื่องยนต์หัวฉีดทั่วๆไป จะมีวิธีการหยุดการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างไร แบบแรกคือการหยุดการทำงานของหัวฉีดน้ำมันซึ่งเป็นฟังก์ชั่นหลักเมื่อติดตั้งก๊าซอยู่แล้ว คือเมื่อเปลี่ยนระบบเป็นก๊าซแล้วหัวฉีดน้ำมันจะหยุดการทำงาน โดยมากจะทำได้จากสวิทซ์ออโต้ในระบบดูด หรือถ้าเป็นระบบหัวฉีดก๊าซ กล่องควบคุมก็จะสั่งหยุดการทำงานของหัวฉีดน้ำมันได้เช่นกัน ซึ่งปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงยังทำงานอยู่และยังปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่รางหัวฉีดน้ำมันอย่างต่อเนื่อง
แบบที่สองคือการหยุดการทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถตัดการทำงานได้2วิธีใหญ่ๆ คือตัดด้วยสวิทซ์ธรรมดาตัวเดียว แบบนี้ผู้ใช้รถต้องโยกสวิทซ์เองราคาถูกต้นทุนต่ำทำงานง่ายไม่ซับซ้อน แต่ไม่สะดวกสำหรับการใช้งาน ต้องคอยกังวลกับการปิดเปิดสวิทซ์ วิธีถัดมาก็เป็นระบบอัตโนมัติโดยตัดด้วยกล่องควบคุมหัวฉีดแก๊สเอง หรือด้วยกล่องตัดติ๊กอัตโนมัติที่มีขายทั่วไปหลากหลายยี่ห้อ หรือช่างที่มีความรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าก็สร้างวงจรอัตโนมัติขึ้นมาเองได้ การทำงานซับซ้อนกว่าระบบสวิทซ์โยกแต่ใช้งานง่ายกว่า และปลอดภัยกว่า นิยมใช้กันมากกว่า ราคาแพงกว่า
ทีนี้ก็รู้แล้วว่าการตัดปั๊มมีวิธีการอย่างไร จากนั้นมาว่ากันต่อเรื่องการทำงานของระบบการสร้างแรงดันน้ำมันของเครื่องยนต์ เอาแบบง่ายๆเลยก็เหมือนระบบน้ำประปานั่นแหละครับ หัวฉีดก็คือก๊อกน้ำ ท่อเบนซินก็คือท่อน้ำ ปั๊มติ๊กก็คือปั๊มน้ำนั่นเอง เมื่อจะใช้น้ำก็เปิดก๊อกน้ำ อยากให้น้ำไหลเบาๆก็เปิดวาล์วให้น้อยลง อยากให้น้ำไหลแรงก็เปิดวาล์วให้สุด ตัวที่สร้างแรงดันน้ำก็คือปั๊มน้ำ ถ้าเลิกใช้น้ำก็ปิดก๊อกน้ำเมื่อปิดก๊อกน้ำแล้วปั๊มน้ำก็หยุดทำงานเองเมื่อแรงดันสูงถึงกำหนดเพื่อป้องกันปั๊มน้ำไหม้เสียหาย เช่นกันถ้าเป็นระบบน้ำมันปั๊มติ๊กเป็นตัวสร้างแรงดันเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ทปั๊มติ๊กก็เริ่มทำงานส่งน้ำมันเข้ารางหัวฉีดซึ่งมีแรงดันในระบบสูงเนื่องจากต้องฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยคลุกเคล้ากับอากาศจึงจะเผาไหม้ได้ดี และเมื่อดับเครื่องยนต์ปั๊มน้ำมันก็หยุดทำงาน ทีนี้พอติดตั้งแก๊สเข้าไป ถ้าไม่ตัดปั๊มติ๊ก ปั๊มก็ยังคงทำงานอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะดับเครื่องยนต์ รถบางคันปั๊มก็ทำงานตัวเปล่าเพราะไม่มีน้ำมันในถัง รถบางคันก็ปั๊มอัดเข้ารางน้ำมันอยู่ตลอดจนท่อแตกเพราะระบบท่อไหลกลับอุดตันหรือไม่ทำงาน หรือถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบท่อไหลกลับ นานไปก็เริ่มมีการซึมตามข้อต่อท่อน้ำมันโดยเฉพาะส่วนที่เป็นท่อยางเริ่มมีกลิ่นน้ำมันเข้ามารบกวน หรือไม่ก็ปั๊มก็พังเพราะสาเหตุมาจากการทำงานเกินกำลังซึ้งแบบนี้เจอบ่อยมาก รถบางคันติดตั้งแก๊สไปแล้วเปลี่ยนปั๊มไปหลายตัวเลยก็มี…

จากช่างเต่า ช่างเทคนิคนภัทรเจริญยนต์ อู่ BKK AUTO SERVICE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น