หน้าเว็บ

ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไขข้อสงสัย7ประการ…ตัดไม่ตัดปั๊มติ๊ก…อย่างไหนดีกว่ากัน




หลายประเด็นหลายความคิดเห็นเรื่องตัดหรือไม่ตัดปั๊ม ยังไม่มีข้อสรุปฝ่ายตัดก็บอกว่าปั๊มจะได้ไม่พัง เปลี่ยนสะดุดนิดหน่อยไม่เป็นไร ส่วนฝ่ายไม่ตัดก็ให้เหตุผลว่าตอนเปลี่ยนแก๊สกลับมาเป็นน้ำมันจะได้ไม่สะดุด และทางผู้ผลิตหัวฉีดบอกว่าไม่ต้องตัด ยังไม่มีข้อสรุปว่าควรตัดหรือไม่ตัด ต่างก็ว่าของตนดี (ส่วนผมเองก็สรุปไม่ได้เหมือนกันเพราะมันขึ้นกับหลายองค์ประกอบแต่ถ้าเป็นรถลูกค้าผมทางช่างตัดให้ทุกคันไม่มีข้อยกเว้น เราะมันช่วยได้จริง) แต่ก็ฝากประเด็นไว้ให้คิด ดังนี้
1.ว่ากันตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้ง เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ.2551…ข้อที่12 กรณีที่รถใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลิ้นเปิดปิดน้ำมันต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อใช้ก๊าซ…อันนี้ชัดเจนนะผมว่าไม่ต้องตีความเลย
2.ตามหลักการทำงาน น้ำมันเชื้อเพลิงจะไหลกลับถังทาง fuel return line หรือท่อไหลกลับทำให้เข้าใจได้ว่าไม่จำเป็นต้องตัด เพื่อให้รางหัวฉีดมีแรงดันพร้อมใช้งาน เพียงแค่หลอกหัวฉีดอย่างเดียวก็อยู่ อันนี้ไม่ผิดกติกาครับ แต่ต้องภายใต้เงื่อนไขหลายๆ อย่าง เช่น pressure regulator ต้องทำงานได้ดี ระบบท่อน้ำมันต้องสมบูรณ์ และน้ำมันในถังมีอยู่ไม่น้อยเกินไปไม่งั๊นปั๊มติ๊กร้อน เวลาที่pressure regulator ทำงานจะบีบให้น้ำมันกลับถังน้อยลงเมื่อเราใช้รอบสูงขึ้นเพื่อให้เกิดการสะสมแรงดันน้ำมันที่จะถูกใช้ที่หัวฉีดมากขึ้น แต่ในกรณีใช้แก๊สถ้าไม่ตัดปั๊มติ๊ก เมื่อรอบสูงน้ำมันกลับถังได้ยากขึ้นอัตราการไหลก็ยังเท่าเดิม ทำให้น้ำมันจะอั้นอยู่ในรางหัวฉีดและก่อให้เกิดแรงดันสูงขึ้นกว่าที่ได้ออกแบบไว้ได้ pressure regulator ก็ทำงานหนักพอทำงานหนักก็เสียเร็วขึ้นทีนี้น้ำมันก็ไหลกลับยากขึ้นพอเดินเบาก็กลายเป็นว่าน้ำมันท่วมเดินเบาไม่ดี และก็ทำให้ท่อรับแรงดันมากขึ้นไปด้วยตามกัน
3. ท่อน้ำมันเบนซินที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยและสภาพไม่สมบูรณ์นัก, O-ring หัวฉีด ไม่เคยเปลี่ยนpressure regulator ใหม่ๆบางตัวยังรั่วภายในไม่กี่วัน,สิ่งต่างๆ เหล่านี้มักทำให้เกิดน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหลในห้องเครื่องอันนี้ก็เจอบ่อยไปเมื่อเรากลับมาใช้น้ำมัน หากเกิดปัญหา เครื่องจะสั่น เดินไม่เรียบ หรืออาจจะดับในที่สุด ซึ่งทำให้เราต้องลงมาดูในห้องเครื่องและอาจพบปัญหาและแก้ไขได้ในที่สุด แต่ถ้าปัญหา เกิดในขณะที่เราใช้แก๊ส จะเริ่มมีการรั่วซึมของน้ำมัน แต่ยังคงเดินเรียบและเงียบเพราะใช้แก๊ส จานจ่ายหรือไดชาร์จเป็นอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดประกายไฟได้ ท่อร้อนๆก็เพียงพอที่จะทำให้น้ำมันลุกเป็นไฟได้ และหลายคนมีปัญหาในขณะใช้แก๊สคือ น้ำมันเชื้อเพลิงรั่วจากท่อที่หมดสภาพ โชคดีเจอก่อนก็รอดไปโชคร้ายก็พังอาการหนักเสียเงินเยอะอีก
4. อีกกรณีที่เจอบ่อยๆบางคนใช้แก๊สเพลินจนลืมเติมน้ำมันหรือเติมไว้น้อยๆ ปั๊มติ๊กซึ่งใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการระบายความร้อน หากน้ำมันเหลือน้อย เมื่อใช้แก๊สปั๊มติ๊กยังคงทำงานไม่หยุด ขาดการระบายความร้อนที่ดี ก่อให้เกิดความเสียหายได้
5. วาล์วกันกลับหรือที่เรียกว่าcheck valve หรือone-way valve ในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นตัวกักน้ำมันให้ค้างอยู่ในท่อเมื่อปั๊มติ๊กหยุด ดังนั้นน้ำมันจะเต็มระบบอยู่ตลอดเวลาและพร้อมสำหรับใช้งานในรางหัวฉีด แรงดันจะขึ้นสู่แรงดันใช้งานได้ในระยะเวลาเพียงไม่ถึงวินาทีหลังจากสตาร์ทรถ ดังนั้นเปลี่ยนจากแก๊สเป็นน้ำมันสำหรับรถที่ตัดปั๊มติ๊กจะไม่ส่งผลให้เครื่องดับอาจมีเพียงแค่สะดุดนิดหน่อยในรถที่มีอายุงานมากแล้ว แต่ถ้าเปลี่ยนแล้วดับอันนี้ต้องตรวจสอบแล้วล่ะครับ
6. อีกหนึ่งข้อมูลที่สนับสนุนการตัดปั๊มก็คือศูนย์บริการรถยนต์ ถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ทางศูนย์แนะนำให้ตัด เพราะพบว่าลูกค้าหลายรายมีปัญหาท่อน้ำมันเชื้อเพลิงมีอาการบวมจากแรงดันที่สูงกว่าปกติ บางครั้งถึงขั้นต้องเปลี่ยนปั๊มเลยเพราะวัดแรงดันน้ำมันแล้วไม่ได้ค่ามาตรฐาน
7.ในส่วนของลูกค้าที่อู่ผมเองจะตัดให้ลูกค้าทุกคันเพราะป้องกันปัญหาได้แน่นอนและการเปลี่ยนระบบจากน้ำมันเป็นแก๊สช่างต้องทำการตรวจสอบทุกคันก่อนปล่อยรถให้ลูกค้าและส่วนตัวผมเองรถที่ใช้อยู่ก็ตัดปั๊มเหมือนกัน เพราะรถรุ่นเดียวกันที่ไม่ได้ตัดผมก็เปลี่ยนปั๊มไปหลายคัน น้ำมันที่เติมก็มีส่วน รถใช้แก๊สนั้นไม่ควรเติมแก๊สโซฮอล์แช่ในถังนานๆเพราะแก๊สโซฮอล์กัดท่อยาง แช่นานๆท่อยางก็บวม ยางO-Ringก็บวม เป็นไปได้ควรเติมเบนซินธรรมดาก็พอและที่สำคัญการบำรุงดูแลรักษาต้องเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ดูแลตามที่ควรจะทำทั้งระบบน้ำมันและระบบแก๊ส ป้องกันไว้ก่อน อย่าให้เกิดเหตุดีกว่าครับ

จากช่างเต่า ช่างเทคนิคนภัทรเจริญยนต์ อู่BKK AUTO SERVICE

เขาตัดปั๊มติ๊ก….กันอย่างไร



“ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และแบบหนังสือรับรองการติดตั้ง เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ.2551”
…ข้อ12 กรณีที่รถใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลิ้นเปิดปิดน้ำมันต้องปิดโดยอัตโนมัติเมื่อใช้ก๊าซ… ถ้าอ่านตามข้อกฏหมายที่เขียนไว้นั่นก็หมายความว่า รถทุกคันที่ติดตั้งก๊าซก็ต้องติดตั้งลิ้นเปิดปิดน้ำมันหรือที่เรียกกันว่าติ๊กตัดน้ำมันทุกคัน ทีนี้เรามาพูดถึงตัวติ๊กตัดน้ำมันว่าอยู่ที่ไหนของรถเวลาติดตั้งแก๊ส โดยปกติการติดตั้งติ๊กตัดน้ำมันนั้นช่างจะติดตั้งในรถยนต์ที่เป็นระบบคาร์บูเรเตอร์ที่ทำการติดตั้งก๊าซระบบดูด โดยจะติดตั้งตรงท่อยางเบนซินก่อนที่จะเข้าชุดคาร์บูเรเตอร์ของรถยนต์ เพื่อตัดการจ่ายน้ำมันไม่ให้เข้าไปผสมกับก๊าซ ไม่งั้นเครื่องยนต์จะเดินเครื่องแบบสำลักเพราะเชื้อเพลิงหนาเกินไปน้ำมันปนกับก๊าซ
แล้วถ้าเป็นเครื่องยนต์หัวฉีดทั่วๆไป จะมีวิธีการหยุดการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างไร แบบแรกคือการหยุดการทำงานของหัวฉีดน้ำมันซึ่งเป็นฟังก์ชั่นหลักเมื่อติดตั้งก๊าซอยู่แล้ว คือเมื่อเปลี่ยนระบบเป็นก๊าซแล้วหัวฉีดน้ำมันจะหยุดการทำงาน โดยมากจะทำได้จากสวิทซ์ออโต้ในระบบดูด หรือถ้าเป็นระบบหัวฉีดก๊าซ กล่องควบคุมก็จะสั่งหยุดการทำงานของหัวฉีดน้ำมันได้เช่นกัน ซึ่งปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงยังทำงานอยู่และยังปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่รางหัวฉีดน้ำมันอย่างต่อเนื่อง
แบบที่สองคือการหยุดการทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถตัดการทำงานได้2วิธีใหญ่ๆ คือตัดด้วยสวิทซ์ธรรมดาตัวเดียว แบบนี้ผู้ใช้รถต้องโยกสวิทซ์เองราคาถูกต้นทุนต่ำทำงานง่ายไม่ซับซ้อน แต่ไม่สะดวกสำหรับการใช้งาน ต้องคอยกังวลกับการปิดเปิดสวิทซ์ วิธีถัดมาก็เป็นระบบอัตโนมัติโดยตัดด้วยกล่องควบคุมหัวฉีดแก๊สเอง หรือด้วยกล่องตัดติ๊กอัตโนมัติที่มีขายทั่วไปหลากหลายยี่ห้อ หรือช่างที่มีความรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าก็สร้างวงจรอัตโนมัติขึ้นมาเองได้ การทำงานซับซ้อนกว่าระบบสวิทซ์โยกแต่ใช้งานง่ายกว่า และปลอดภัยกว่า นิยมใช้กันมากกว่า ราคาแพงกว่า
ทีนี้ก็รู้แล้วว่าการตัดปั๊มมีวิธีการอย่างไร จากนั้นมาว่ากันต่อเรื่องการทำงานของระบบการสร้างแรงดันน้ำมันของเครื่องยนต์ เอาแบบง่ายๆเลยก็เหมือนระบบน้ำประปานั่นแหละครับ หัวฉีดก็คือก๊อกน้ำ ท่อเบนซินก็คือท่อน้ำ ปั๊มติ๊กก็คือปั๊มน้ำนั่นเอง เมื่อจะใช้น้ำก็เปิดก๊อกน้ำ อยากให้น้ำไหลเบาๆก็เปิดวาล์วให้น้อยลง อยากให้น้ำไหลแรงก็เปิดวาล์วให้สุด ตัวที่สร้างแรงดันน้ำก็คือปั๊มน้ำ ถ้าเลิกใช้น้ำก็ปิดก๊อกน้ำเมื่อปิดก๊อกน้ำแล้วปั๊มน้ำก็หยุดทำงานเองเมื่อแรงดันสูงถึงกำหนดเพื่อป้องกันปั๊มน้ำไหม้เสียหาย เช่นกันถ้าเป็นระบบน้ำมันปั๊มติ๊กเป็นตัวสร้างแรงดันเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ทปั๊มติ๊กก็เริ่มทำงานส่งน้ำมันเข้ารางหัวฉีดซึ่งมีแรงดันในระบบสูงเนื่องจากต้องฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยคลุกเคล้ากับอากาศจึงจะเผาไหม้ได้ดี และเมื่อดับเครื่องยนต์ปั๊มน้ำมันก็หยุดทำงาน ทีนี้พอติดตั้งแก๊สเข้าไป ถ้าไม่ตัดปั๊มติ๊ก ปั๊มก็ยังคงทำงานอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะดับเครื่องยนต์ รถบางคันปั๊มก็ทำงานตัวเปล่าเพราะไม่มีน้ำมันในถัง รถบางคันก็ปั๊มอัดเข้ารางน้ำมันอยู่ตลอดจนท่อแตกเพราะระบบท่อไหลกลับอุดตันหรือไม่ทำงาน หรือถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบท่อไหลกลับ นานไปก็เริ่มมีการซึมตามข้อต่อท่อน้ำมันโดยเฉพาะส่วนที่เป็นท่อยางเริ่มมีกลิ่นน้ำมันเข้ามารบกวน หรือไม่ก็ปั๊มก็พังเพราะสาเหตุมาจากการทำงานเกินกำลังซึ้งแบบนี้เจอบ่อยมาก รถบางคันติดตั้งแก๊สไปแล้วเปลี่ยนปั๊มไปหลายตัวเลยก็มี…

จากช่างเต่า ช่างเทคนิคนภัทรเจริญยนต์ อู่ BKK AUTO SERVICE

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

BKK AUTO SERVICE LPG & NGV: ติดแก๊สแล้วต้องเติมน้ำมันเท่่าไหร่ดี

BKK AUTO SERVICE LPG & NGV: ติดแก๊สแล้วต้องเติมน้ำมันเท่่าไหร่ดี: "หลายๆท่านคงยังไม่ทราบว่ารถใช้แก๊สควรจะต้องเติมน้ำมันไว้ในถังในปริมาณเท่าไหร่จึงจะดีบางท่านอาจคิดว่าใช้แก๊สแล้วไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันแล้ว นั่..."

ECU ยี่ห้อ SEC

27 กันยายน 2552 นภัทรเจริญยนต์ ผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย ได้เปิดตัวหัวฉีด SEC อย่างเป็นทางการ หลังจาก นำออกจำหน่ายและติดตั้ง กับ อู่ดีเลอร์มาระยะหนึ่งแล้ว วันนี้ถือว่าเป็นการเปิดตัวเพื่อแนะนำหัวฉีดอย่างเป็นทางการ พร้อมอบรมการติดตั้ง การ SETUP โปรแกรม และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ของช่าง และ วิศวกรผู้ผลิตที่เดินทางมาจากโปรแลนด์ นับเป็นหัวฉีดราคาไม่แพงที่สามารถเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสตัดสิน ใจ ในการเลือกใช้กับรถยนต์ของเราอีกทางครับ
ที่มา www.yonsawad.com


SEC (Sequential Gas Injection System) กล่อง ECU อัจฉริยะ ที่สามารถรองรับรถยนต์ได้ทุกรุ่น
ถ้าจะมองหาชุด Kit คุณภาพดี มาตรฐานยุโรป ในราคาย่อมเยาว์ ขอแนะนำ SEC กล่องECU ซึ่งเป็นชุดอุปกรณ์นำเข้าจากประเทศอิตาลี
เป็นการพัฒนากล่อง ECU ที่มีความเหมาะสำหรับรถยนต์ในประเทศไทย และมีฟังก์ชั่นที่สามารถใช้ได้ดีกับรถยนต์ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ สามารถรองรับเครื่องยนต์ขนาด 1,300 CC ไปจนถึง 4,000 CC
เป็นกล่อง ECU ที่มีฟังก์ชั่นในส่วนของการปรับจูน มากถึง 5 รูปแบบ ทำให้สามารถรองรับการติดตั้งจากช่างได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ช่างมือใหม่ ไปจนถึง ระดับเซียน สามารถใช้ OBD ได้ ฟังชั่นการติดตั้งมีดังนี้
1. แบบง่ายๆ
2. แบบเชิงเส้น
3. แบบตาราง
4. แบบ OBD
5. แบบ Maping
“ระบบโอบีดีมีข้อดีตรงที่สามารถอ่านข้อผิดพลาดได้ทั้งในส่วนของกล่องแก๊ส และกล่องรถยนต์ ถ้าติดชุดหัวฉีดยี่ห้ออื่นแล้วเกิดปัญหา ขับไปแล้วรถดับ โดยส่วนมากมักจะไม่มีอะไรฟ้องขึ้นมาว่ารถดับเพราะอะไร แต่ถ้าเป็น “SEC” จะมีข้อบ่งชี้อยู่ในโปรแกรม ถ้าหากขับรถกลับมาให้ช่างซ่อม ช่างสามารถใช้คอมพิวเตอร์เสียบเปิดโปรแกรมออกมาดูได้ทันทีว่าที่รถดับหรือตีกลับเป็นน้ำมันนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร”
ข้อดีของระบบโอบีดีในยี่ห้อ “SEC” คือ เมื่อไหร่ที่รถมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการตีกลับเป็นน้ำมัน หรือรถดับนั้น ระบบโอบีดีจะสามารถอ่านข้อผิดพลาดในส่วนของกล่องแก๊สได้ซึ่งจะมีข้อบ่งชี้อยู่ในโปรแกรม ช่างจะสามารถตรวจสอบได้ทันทีโดยใช้คอมพิวเตอร์เสียบเชื่อมต่อและเปิดดูในโปรแกรม ตัวโปรแกรมจะฟ้องทันทีว่าสาเหตุนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร อีกหนึ่งความสามารถของ SEC คือ ช่างสามารถเลือกฟังก์ชั่นการชดเชยการจ่ายแก๊สได้ เช่น รถยี่ห้อ Honda รุ่น CRV ที่ต้องวางสายหัวฉีดไม่เท่ากัน สายหัวฉีดสูบ 1 กับ 4 จำเป็นต้องยาว ส่วน สูบ 2 กับ 3 จำเป็นต้องสั้น นั้นก็สามารถชดเชยแก๊สให้กับสูบ 1 กับ 4 ให้มากขึ้น เพื่อให้เท่ากับ สูบ 2 กับสูบ 3 นั่นเอง


อีกหนึ่งความสามารถของ SEC ที่สามารถทำให้อู่หลายๆอู่จบงานการติดตั้งแก๊สได้มาก คือ การชดเชยการจ่ายแก๊สตามอุณหภูมิแก๊ส โดยการวัดอุณหภูมิแก๊ส และหม้อต้ม ในขณะจูนจะต้องตั้งค่าต้นว่ามีอุณหภูมิเท่าไหร่ สัญญาณจะจับการจ่ายแก๊สให้ชดเชยการจ่ายตามอุณหภูมิ ไม่ให้เกิดปัญหาเครื่องร้อนแล้วสะดุด ด้วยการกำหนดเรนจ์การจ่ายแก๊สให้ครอบคลุมตั้งแต่อุณหภูมิเย็นไปถึงร้อน ซึ่งความสารมรถนี้จะมีชุดหัวฉีดบางยี่ห้อเท่านั้นที่จะมีฟังก์ชั่นนี้ให้เลือกใช้ได้


สำหรับปัญหาในรถยุโรป เช่น BMW และ AUDI ที่มีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวน ปัญหาเครื่องยนต์สะดุดเมื่อใช้แก๊สเพราะแก๊สท่วม เนื่องจากเวลาเหยียบคันเร่งจะเป็นในลักษณะการฉีดนำนั่นเอง ปัญหานี้แก้ไขโดยการใช้ฟังชั่นในส่วนของการกรองสัญญาณหัวฉีดให้มีการจ่ายแก๊สเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ข้อดี-ข้อเสีย ของระบบดูด และ ระบบหัวฉีด

ระบบ Fix Mixer คือ การยิงแก๊สแบบคาร์บูเรเตอร์ไปให้เครื่องยนต์ โดยจ่ายแก๊สแบบตายตัว ... จะจ่ายบาง จ่ายหนา ก็แล้วแต่เราจูนตั้งไว้ จะวิ่งช้าวิ่งเร็วมันก็จ่ายแก๊สตามที่เราตั้งไว้
ระบบหัวฉีด Injection คือ การยิงแก๊สแบบหัวฉีด 4 หัว 6 หัว หรือ 8 หัว แล้วแต่ว่าเครื่องยนต์เรามีกี่สูบ เข้าทางท่อไอดีแต่ละท่อ โดยควบคุมโดยกล่อง ECU ของแก๊ส และ จูนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ซึ่งหัวฉีดแก๊ส ก็ยังแบ่งได้อีก 2 แบบคือ หัวฉีดแบบราง (Rail Injection) กัว หัวฉีดแบบอิสระ (Individual Injection)
ข้อดีของ Fix Mix
1. ราคาในการติดตั้งถูก คุ้มทุนเร็ว
2. สามารถปรับจูนแต่งได้เอง
3. สามารถถอดการติดตั้งออกได้ง่าย
ข้อเสียของ Fix Mix
1. อาจเกิดการชิงจุดระเบิดก่อน (Back Fire) ถ้าจูนแก๊สบางเกินไป ทำให้กรองอากาศ แอร์โฟร์ หรือ ท่อไอดีเสียหายได้
2. อาจเกิดกลิ่นแก๊สจากการเผาไหม้ไม่หมด ถ้าจูนหนาเกินไป
3. อาจจะกินแก๊สมากเกินไปถ้าจูนไว้หนา และอาจจะวิ่งสะอึกถ้าจูนไว้บาง
ข้อดีของระบบหัวฉีด
1. จ่ายแก๊สได้แม่นยำ เพราะจูนและปรับแต่งด้วยคอมพิวเตอร์
2. ไม่เกิดการ Back Fire
ข้อเสียของหัวฉีด
1. มีราคาในการติดตั้งค้อนข้างสูง
2. ถอดการติดตั้งออกยาก

ข้อดีของ LPG

1.เป็นเชื้อเพลิงปิโตเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์
2. ลดการสร้างก๊าซเรียนกระจำ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
3. มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
4. มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตเลียมอื่นๆ
5. สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
6. ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองในประเทศจึงช่วยลดการนำ้เข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ

ขั้นตอนการยื่นเรื่อง

1. เขียนใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพรถ ติ๊กหน้าช่องเชื้อเพลิง แล้วเขียนเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นก๊าซ ในส่วนท้ายคำร้อง เขียนรายการเอกสารที่ยื่น (ให้เขียนเฉพาะที่ขนส่งต้องเก็บไว้ ดังนั้น ข้อ 6 กับ 12 ไม่ต้องเขียน)
2. เขียนเสร็จให้ขับรถไปบริเวณพื้นที่ตรวจสภาพรถก่อน เอาใบคำร้องพร้อมเอกสารทั้งหมดที่ยื่นให้ จนท.ผู้ตรวจสภาพรถดู จนท.จะเตรียมแบบฟอร์มในส่วนของเค้าแปะหน้าเอกสารของเราแล้วทำการตรวจสภาพ ทั่วไป ได้แก่ ตรวจการติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซในห้องเครื่อง ขูดหมายเลขตัวถังรถ ขูดหมายเลขถังแก๊ส และชั่งน้ำหนักรถใหม่ หากไม่มีปัญหาใดๆ จนท.ผู้ตรวจจะเอาแถบกระดาษกาวที่ขูดหมายเลขตัวถังรถกับถังแก๊สไปแปะในแบบ ฟอร์มของเค้าแล้วเขียนผลการตรวจ เสร็จแล้ว จนท.จะคืนเอกสารให้เราไปยืนที่ช่องตรวจสภาพรถยนตร์
3. ไปช่องตรวจสภาพรถยนตร์ ยื่นเอกสารให้ จนท. ทำการแก้ข้อมูลทะเบียนรถในคอมพิวเตอร์ตามที่ จนท.ผู้ตรวจสภาพเขียนมา เสร็จแล้ว จนท.จะคืนเอกสารให้เราไปช่องรับเรื่องขอเปลี่ยนแปลงสภาพรถยนตร์
4. ไปช่องรับเรื่องขอเปลี่ยนแปลงสภาพรถยนตร์ จนท.จะแก้ไขข้อมูลในสมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถ และให้ผู้ยื่นเรื่องชำระค่าดำเนินการตามนี้
- หน้ารายการจดทะเบียน ในช่องเชื้อเพลิงขีดฆ่าคำว่าเบนซิน แล้วเขียนใหม่เป็น LPG เขียนหมายเลขถังแก๊สเพิ่ม แล้วเขียนน้ำหนักที่ชั่งใหม่ (ขีดฆ่าของเดิม) มีลายเซนต์นายทะเบียนขนส่งกำกับ
- หน้ารายการบันทึกของเจ้าหน้าที่ บันทึกวัน เดือน ปี ที่ขอเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง พร้อมเลขที่ใบเสร็จรับเงินค่าดำเนินการ มีลายเซ็นนายทะเบียนขนส่งกำกับ
- ชำระค่าดำเนินการ ได้แก่ ค่าคำขอ 5 บาท ค่าขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียน (ใช้ก๊าซ) 50 บาท และค่าตรวจสภาพรถ 50 บาท รวมทั้งสิ้น 105 บาท
5. รอรับสมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถคืนพร้อมใบเสร็จรับเงินค่าดำเนินการ อย่าลืมขอบัตร "รถใช้ก๊าซ" ตามข้อ 6 คืนด้วย

ป.ล. ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นประสบการณ์ส่วนตัวเฉพาะ สนง.ขนส่งที่ไปยื่นเรื่อง โปรดอย่านำไปอ้างอิงว่าขนส่งทุกที่ต้องเหมือนกันนะครับ เท่าที่ทราบบางที่ยังไม่เคยมีเจ้าของรถไปยื่นเรื่อง จนท.เลยไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการรับเรื่องเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากน้ำมัน เป็นก๊าซ

ติดแก๊สแล้วต้องเติมน้ำมันเท่่าไหร่ดี

หลายๆท่านคงยังไม่ทราบว่ารถใช้แก๊สควรจะต้องเติมน้ำมันไว้ในถังในปริมาณเท่าไหร่จึงจะดีบางท่านอาจคิดว่าใช้แก๊สแล้วไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันแล้ว นั่นเป็นความคิดที่ผิดๆ จริงๆแล้วเราควรเติมน้ำมันไว้ในถังบ้างเล็กน้อย สัดส่วนที่แนะนำคือ 1/4 ของถัง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ค่อยได้ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนแล้วก็ตาม เพื่อเป็นการรักษาเครื่องยนต์ไปในตัวด้วยก็ไม่ควรละเลย

น้ำมันที่แนะนำให้เิติมคือเบนซิน 95 หรือ 91 ธรรมดา เนื่องจากเราเติมในปริมาณที่น้อยอยู่แล้วคงไม่ต้องไปคำนึงถึงราคาของน้ำมันที่ต่างกันเพียงลิตรละไม่กี่บาท สำหรับท่านที่ไม่ค่อยได้เติมน้ำมัน หรือปล่อยให้น้ำมันแห้งถังบ่อยๆ หากไม่ได้ตัดปั๊มติ๊กน้ำมันไว้ ในขณะที่เราใช้แก๊สอยู่นั้น ปั้มติ๊กน้ำมันจะยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เกิดความร้อนซึ่งทำให้ปั๊มติ๊กไหม้ได้ หากในถังมีน้ำมันมีออกซิเจนไม่เพียงพอก็จะไม่ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ แต่ถ้าหากมีการเกิดการรั่วไหลหรือหากมีออกซิเจนผ่านเข้าไปในถังมาก ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการลุกไหม้ได้ อีกประการหนึ่ง การไม่เติมน้ำมันทิ้งไว้ในถังเลย จะเิติมก็ต่อเมื่อแก๊สหมดแล้วตัดเป็นน้ำมันแล้วค่อยเติมน้ำมันอีกที การกระทำแบบนี้จะทำให้ท่านต้องเสียเงินสองต่อ นั่นคือเสียเงินซ่อมระบบน้ำมันใหม่ และ เสียเงินซ่อมระบบแก๊ส ด้วย ทางที่ดีควรเิติมไว้และปรับมาใช้งานน้ำมันบ้าง เพื่อเป็นการรักษาเครื่องยนต์ หัวฉีด และทำให้รถคู่ใจมีอายุการใช้งานอยู่กับเราไปนานๆ ไม่ต้องคอยเข้าอู่เพื่อซ่อมบำรุงอยู่บ่อยๆ อีกด้วย

วิเคราะห์ LPG กับ NGV

เท่าที่รู้กันเป็นอย่างดีว่าทุกวันนี้รถติดตั้งก๊าซ NGV ยังคงมีปัญหามากเหลือเกิน ทั้งเรื่องราคาค่าติดตั้งที่สูงมากมายโดยที่อุปกรณ์ก็ไม่ต่างจาก LPG มากนัก ยกเว้นถังที่หนักถึง 100 กิโลกรัม ทั้งเรื่องปั๊มที่หาเติมยาก และยังมีเรื่องการเติมก๊าซที่ช้ามากกกกกกกกกกกก เพราะถูกเก็บอยู่ในรูปของก๊าซทำให้ต้องใช้แรงดันในการเติมสูงมากๆ ต่างกับ LPG ซึ่งเป็นของเหลวเติมง่ายและเร็วกว่ากันเยอะ และยังตบท้ายด้วยก๊าซหมดเร็วอีก ทั้งๆที่ถังก็มีความจุก๊าซเท่าๆ LPG
แต่อนาคตของ LPG ก็ใช่ว่าจะสดใสนัก เพราะทางรัฐบาลก็พยายามผลักดันให้ภาคการขนส่งไปใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่ เป็น NGV มากกว่า โดยขณะนี้ก็ได้มีการเร่งขยายปั๊ม NGV ให้มีมากขึ้นตามลำดับ รวมไปถึงการยกเลิกการตรึงราคาก๊าซ และคาดว่าหลังจากนี้ประมาณ 4-6 เดือน เมื่อทาง ปตท. ขยายเพิ่มจำนวนปั๊มแก๊ส NGV ไปถึงระดับนึงแล้วก็จะมีการลอยตัว LPG ภาคการขนส่งอย่างแน่นอน (ในครัวเรือนก็รอดตัวไป) ก็ต้องยอมรับว่า LPG มันก็เป็นสิ่งที่ได้จากการกลั่นน้ำมันอยู่ดี (วัตถุดิบก็ยังเป็นน้ำมันอยู่ดี)
ขณะนี้ทางกระทรวงพลังงานและ ปตท. มีความพยายามที่จะเปลี่ยนรูป NGV ที่เป็นแก๊สให้อยู่ในรูปของของเหลว (แบบ LPG) และจะเรียกว่า LNG ซึ่งจะทำให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นในการใช้งานภาคขนส่งจริงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น
1. การเติมก๊าซที่เร็วเท่าๆกับน้ำมันและ LPG
2. ปริมาณ เนื่องจากเก็บให้อยู่ในรูปของของเหลวซึ่งจะลดขนาดของโมเลกุลก๊าซให้ลดลงได้ ถึง 6 เท่า ถ้าลองคิดในมุมกลับกันก็คือถังบรรจุขนาดเดิม แต่วิ่งได้ไกลกว่าเดิมถึง 6 เท่า ก็จะทำให้การเติมแก๊สเต็มถัง 1 ครั้ง จะทำให้รถวิ่งได้ไกลกว่า LPG ซะอีก
3. น้ำหนักถัง LNG จะลดน้ำหนักของถังได้จนเหลือพอๆกับ LPG เลย เพราะไม่ต้องทนรับแรงดันที่สูงมากๆอีกแล้ว
4. เพิ่มจำนวนปั๊ม NGV ให้เป็น 750 แห่งทั่วประเทศใน 3 ปี

อายุการใช้งานของถังแก๊ส

หลายคนคงสงสัยว่า อ้าวถังแก๊สนี่มีอายุการใช้งานด้วย จริงแล้วของทุกอย่างบนโลกนี้ย่อมมีกาลเวลาของตัวมันเอง ถังบรรจุแก๊สไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV ก็เช่นกัน ย่อมมีอายุการใช้งานด้วย โดยจะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ

1.ถังบรรจุแก๊ส LPG
โดยปกติแล้วถังบรรจุแก๊ส LPG นั้นจะมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เป็นเพราะแรงดันสูงสุดนั้นก็ไม่เกิน 200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว น้ำหนักไม่มากเท่าไหร่ ทำจากเหล็กแผ่นหนาประมาณ 2.5 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 3 มิลลิเมตร เพราะถังแบบ LPG นั้นไม่จำเป็นต้องผลิตเพื่อให้ทนต่อแรงดันสูง ๆ แต่โรงงานแก๊สโดยส่วนใหญ่เขาทดสอบที่แรงดันที่มากกว่าแรงดันปกติถึง 3 เท่า ถ้ารั่วโดยส่วนใหญ่ก็จะออกตามรอยรั่วของวาล์ว ส่วนประกอบที่ติดกับถังก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทนรับแรงดันสูง ๆ เมื่อแรงดันไม่สูงมาก โอกาสที่จะเกิดการรั่วซึมก็ยิ่งมีน้อย ส่วนเรื่องที่หลาย ๆ คนเป็นห่วง คือเรื่องของการระเบิดยิ่งแทบไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลย ไม่เชื่อก็ลองดูตัวอย่างของเตาปิคนิค สามารถทำกับข้าวได้บนถังตัวถังเลยโดยไม่ระเบิดทั้งทั้งไฟก็อยู่บนถังแท้ ๆ ถังบรรจุแก๊ส LPG ปัจจุบันสามารถผลิตได้เองในประเทศไทยและส่งออกไปทั่วโลก

2.ถังบรรจุแก๊ส NGV
ถูกเก็บอยู่ในสภาวะแก๊สแรงดันสูง ดังนั้นถังบรรจุแก๊ส NGV จึงจำเป็นต้องมีความแข็งแรงทนทานกว่าถังแบบ LPG อันเนื่องมาจากแรงดันของแก๊ส NGV ที่บรรจุลงในถังแก็บมีแรงดันประมาณ 3,600 PSI ตัวถังหนาประมาณ 10 มิลลิเมตร ที่สำคัญห้ามรั่วเด็ดขาด (รั่วไม่ได้ถ้ารั่วแล้วได้เห็นรถลอยฟ้าแน่เลย) และเนื่องจากเป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงจึงจำเป็นที่ต้องถูกเก็บอยู่ในถังที่มีความแข็งแรง จึงทำให้ถังบรรจุแก๊ส NGV ที่ใช้ในรถยนต์นั้นมีน้ำหนักที่จะค่อนข้างมาก โดยถังเปล่าจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 70-80 กิโลกรัมเลยทีเดียว ประกอบกับถังแก๊ส NGV ต้องเก็บไว้ในสถานะแก๊ส จึงทำให้ไม่สามารถจะบรรจุแก๊สไว้ในถังได้ปริมาณครั้งละมาก ๆ เหมือนกับแก๊ส LPG จึงทำให้ผู้ใช้ต้องเติมแก๊ส NGV บ่อยครั้งกว่าแก๊ส LPG ทั้นี้ถ้าสถานีเติมแก๊ส NGV มีอยู่ไม่มากเพียงพอต่อความต้องของผู้ใช้แล้วจะทำให้ผู้ใช้ไม่ได้รับความสะดวกสะบาย เหมือนกับการใช้แก๊ส LPG ซึ่งมีสถานีน้ำมันอยู่ทั่วประเทศ ประกอบกับ LPG สามารถเติมได้ในปริมาณครั้งละมาก ๆ ดังนั้นหากต้องใช้รถในระยะทางหลายกิโลเมตรต่อวัน อาจจะต้องทำให้เสียเวลาในการเติมแก๊สบ่อยครั้ง หากเลือกใช้แก๊ส NGV เป็นเชื้อเพลิง ปัจจุบันถังบรรจุแก๊ส NGV ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทยยังคงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (ถึงผลิตได้คนไทยจะกล้าใช้กันหรือเปล่า)

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

PTT คาดยอดนำเข้า LPG พุ่งเป็น 1.5 แสนตัน/เดือน หลังโรงแยกก๊าซ 6 ล่าช้า

นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท.(PTT)คาด ว่า บริษัทจะต้องนำเข้าก๊าซ LPG เดือนละ 1.5 แสนตัน จากที่เคยนำเข้าในระดับเดือนละ 1 แสนตัน เนื่องจากโครงการโรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 ต้องล่าช้าออกไป เพราะต้องรอการประกาศ 18 ประเภทโครงการที่มีผลกระทบขั้นรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน แม้จะเชื่อว่าโรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 ไม่ได้เข้าข่ายดังกล่าว ซึ่งหากเปิดนำเข้าได้ก็จะช่วยลดการนำเข้า LPG และลดภาระการชดเชยของภาครัฐลงได้มาก

ส่วนราคาน้ำมันในช่วงครึ่งปีหลัง นายปรัชญา คาดว่า จะอยู่ในระดับ 70-80 เหรียญ/บาร์เรล แต่ก็ต้องอยู่ที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจว่าจะปรับตัวดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากเศรษฐกิจเติบโตก็น่าจะช่วยให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นกว่านี้ได้ โดยในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา อ่อนตัวลงมาจากระดับสูงกว่า 80 เหรียญ/บาร์เรล จากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป แต่เชื่อว่าช่วงครึ่งปีหลังยังมีสัญญาณที่ดีที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นของ ราคาน้ำมัน

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ -- พฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2553

เก๋งเปอร์โยแก๊สระเบิด

หนุ่มใหญ่ลำปางหวิดดับคาเก๋งเปอร์โยต์หลังแก๊สLPGระเบิดไฟลุกท่วม


เมื่อ เวลาประมาณ 10.50 น. วันที่ 28 ก.ค. พ.ต.ท.นวพล พงษ์ไพโรจน์ ร้อยเวรฯสภ.เมืองลำปาง ได้รับแจ้งเหตุไฟไหม้รถยนต์เก๋ง ที่บริเวณหมู่บ้านจามเทวี ซอย 4 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง หลังรับแจ้งจึงได้รีบรายงานไปยังหน่วยดับเพลิงเทศบาลนครลำปาง และเจ้าหน้าที่อปพร.เทศบาลนครลำปาง ร่วมตรวจสอบและให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน



หลังรับแจ้งเหตุ พบรถยนต์เก๋ง4ประตูยี่ห้อ PEUGEOT 305 GT สีฟ้า หมายเลขทะเบียน กน 2224 ขอนแก่น เกิดไฟลุกท่วมที่บริเวณกระโปรงด้านหน้ารถ กลุ่มควันไฟลอยขโมงออกมาจากตัวรถอ ย่างน่ากลัวเจ้าหน้าที่จึงได้รีบฉีดน้ำดับไฟและลดความร้อนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากทราบว่ารถคันดังกล่าวใช้แก๊สLPG และติดตั้งถังแก๊สอยู่บริเวณด้านหลังกระโปรงท้าย จึงได้รีบทำการปิดวาวล์ถังแก๊สที่เปิดอยู่ เกรงว่าหากไม่รีบดำเนินการอาจจะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นมาได้ หลังจากเจ้าหน้าที่ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการฉีดน้ำดับเพลิงและลดความร้อน กลุ่มเปลวไฟก็สงบลง แต่เจ้าหน้าที่ยังคอยฉีดน้ำเลี้ยงไว้ตลอดเวลา เพื่อป้องกันเปลวไฟครุขึ้นมาอีก หลังจากไฟสงบทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการใช้เหล็กแฉลงงัดกระโปรงหน้ารถขึ้นเพื่อ ตรวจสอบความเสียหาย ปรากฏว่าภายในห้องเครื่องยนต์ทั้งหมดได้รับความเสียหาย ถูกไฟไหม้ดำเป็นตอตะโก กระโปรงด้านหน้าถูกไฟไหม้ไปทั้งหมด


เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่จากการสอบถามเจ้าของรถ ทราบชื่อต่อมาคือ นายพงษ์พิชญ์ บินสมประสงค์ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 893/1 ถ.จามเทวี ซอย 4 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง ได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ว่า หลังจากที่ตนขับรถยนต์เก๋งคันดังกล่าว ซึ่งเป็นรถของพี่ชายออกจากบ้าน เพื่อจะนำรถไปเข้าอู่เพื่อตรวจเช็คและซ่อมแซมระบบไฟ ขณะที่ออกจากบ้านมาไม่ถึง 5 นาที ทันใดนั้นได้เกิดเสียงระเบิดขึ้นที่บริเวณกระโปรงด้านหน้า และเกิดไฟลุกอย่างรวดเร็ว ตนเองเกิดอาการตกใจจนทำอะไรไปถูกอยู่พักนึง แต่พอหลังจากตั้งสติได้จึงรีบวิ่งออกมาจากรถ แล้วรีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากการตรวจสอบสภาพรถ ในเบื้องต้นคาดว่าสาเหตุทั้งหมดน่าจะเกิดมาจากระบบไฟภายในรถที่มีปัญหาอยู่ แล้ว จึงจะนำรถไปตรวจสอบที่อู่ซ่อม แต่มาเกิดระเบิดและไฟไหม้ขึ้นเสียก่อน.


มติชนออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2553

รัฐบิคเบื่อนราคา LPG

โรงกลั่นจวกรัฐบิดเบือนราคา LPG ต้นเหตุนำเข้า-ทำสูญเงินกว่า 3 หมื่นลบ

นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ได้ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาเพื่อนำเสนอผลการศึกษาเรื่อง "ตลาดก๊าซปิโตรเลียมเหลว นโยบายราคาและแนวทางเลือกของประเทศไทย" เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นของทุกภาคส่วน และรวบรวมเป็นข้อเสนอสำหรับภาครัฐในการพิจารณากำหนดนโยบายด้านพลังงานต่อไป

โดยผลการศึกษาพบว่า การดำเนินนโยบายการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) อย่างต่อเนื่อง ทำให้พฤติกรรมการใช้พลังงานบิดเบือน ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อผู้ใช้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โรงกลั่นน้ำมันและประเทศชาติ ส่งผลให้ปริมาณการใช้ LPG ของประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม และทำให้ประเทศไทยต้องมีการนำเข้า LPG เพิ่มขึ้น

โดยในปี 52 มีการนำเข้า LPG รวม 738,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 71% เมื่อเทียบกับปี 51 และคาดว่าในปี 53 นี้ ประเทศไทยอาจต้องนำเข้า LPG มากกว่า 1.33 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 30,000 ล้านบาท ซึ่งโครงสร้างการใช้พลังงานดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลที่ต้องรับภาระในการจ่ายเงินสมทบเข้าสู่กองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิงในปริมาณที่สูงขึ้น เพื่อนำเงินไปชดเชยภาระการนำเข้า LPG ที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ชดเชยไปแล้วกว่า 25,000 ล้านบาท

ขณะที่ผู้ผลิต LPG ในประเทศ โดยเฉพาะโรงกลั่นน้ำมันยังต้องแบกรับภาระส่วนต่างราคา ระหว่างราคาควบคุมจากผู้ผลิตในประเทศและราคาในตลาดโลก โดย 5 ปีที่ผ่านมา(47-52) กลุ่มโรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศไม่เคยได้รับการชดเชยจากหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง แต่ต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจจากการที่รัฐควบคุมราคาขาย ณ โรงกลั่นไปแล้วกว่า 50,148 ล้านบาท ซึ่ง 1 ใน 3 ของมูลค่าที่สูญเสียไปนี้ควรเป็นภาษีที่ต้องส่งให้กับภาครัฐเพื่อใช้ในการ พัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีการนำ LPG ไปใช้ในภาคขนส่งเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติ(NGV) ในภาคขนส่งของรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังจะทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องราคาเชื้อเพลิง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะการปรับแต่งเครื่องยนต์ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้ LPG และการติดตั้งถังก๊าซที่ไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย รวมทั้งยังมีการลักลอบนำ LPG บรรจุถังไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากราคาจำหน่ายในประเทศไทยยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านได้รับประโยชน์จากการควบคุมราคา LPG ของไทยด้วย

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2553

รถติดแก๊สชนไฟท่วม"ทางด่วน"

อุบัติเหตุสยองสังเวยถนนกรุงเทพฯ 3 รายซ้อน คร่าชีวิตคนขับไป 2 ศพ รายแรกชายไม่ทราบชื่อควบเปอโยต์ฝ่าสายฝน เสยเสาไฟฟ้าบนทางด่วนถังแก๊สติดรถระเบิดไฟเผารถลุกท่วมร่างดำเป็นตอตะโก รายต่อมาหนุ่มเมืองกรุงขับรถอัดแท่งปูนข้างทางเข้าที่จอดรถรถไฟฟ้าใต้ดิน เสียชีวิตอนาถคารถ ส่วนรายสุดท้ายแท็กซี่ขับจี้ท้ายกระบะ ก่อนพุ่งชนกระบะพลิกคว่ำ เดชะบุญไม่มีใครตาย

ฝนตกถนนลื่นส่งผลให้รถ เกิดอุบัติเหตุสามรายซ้อน รายแรกเมื่อเวลา 01.00 น. วันที่ 17 ก.ค. พ.ต.ท.ธีระ เรืองเนตร สวส.สน.ทางด่วน 1 รับแจ้งเหตุไฟไหม้รถยนต์บนถนนทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ มุ่งหน้าถนนรามอินทรา ก่อนถึงทางลงถนนพัฒนาการ แขวงและเขตคลองเตย กทม. จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู และรถดับเพลิงหน่วยกู้ภัย

จุดเกิดเหตุอยู่ช่วงทางโค้งพบเสาไฟฟ้าของ ทางด่วนหักโค่นลงใกล้กับรถยนต์ยี่ห้อเปอโยต์ 406 หมายเลขทะเบียนภธ 2533 กรุงเทพมหานคร ที่จอดขวางกลางถนน ไฟโหมลุกไหม้เสียหายทั้งคัน เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยทางด่วนใช้น้ำฉีดควบคุมเพลิงราว 30 นาที เพลิงจึงสงบ บริเวณด้านหน้ารถพบศพชายไม่ทราบชื่อ อายุราว 30-50 ปี ถูกไฟไหม้ดำเป็นตอตะโก สภาพรถพังยับเยิน ประตูรถด้าน คนขับหลุดกระเด็นข้ามไปอีกฝั่ง ทำให้รถยนต์ที่วิ่งสวนได้รับความเสียหาย เศษชิ้นส่วนของรถกระจายเกลื่อนถนน

พ.ต.ท.ธีระเผยว่า จากการสอบถามผู้เห็นเหตุการณ์ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุมีฝนตกหนักทำให้ถนนลื่น คาดว่าผู้ตายอาจขับรถยนต์ขึ้นทางด่วนด้วยความเร็วสูง กระทั่งไปถึงบริเวณทางโค้งรถเกิดเสียหลักปีนขึ้นไปบนขอบกำแพง ก่อนพุ่งชนเสาไฟฟ้าทางด่วน ทำให้ถังแก๊สแอลพีจีที่ติดตั้งอยู่ท้ายรถเกิดระเบิด เพลิงลุกไหม้ทั้งคัน ขณะที่ผู้ตายอาจหมดสติถูกไฟไหม้ตามเสื้อผ้าก่อนจะกระเด็นออกจากรถฝั่งคนขับ จนไฟคลอกตัวเสียชีวิตดังกล่าว เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าผู้ตายเป็นใคร เนื่องจากเอกสารถูกไฟไหม้ จากนี้ต้องส่งศพไปชันสูตรที่สถาบันนิติเวช เพื่อหาสาเหตุการตายตามกระบวนการสอบสวน

อุบัติเหตุสยองอีกรายเกิด ขึ้นเมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 17 ก.ค. ร.ต.ท.หญิงณัฐนันท์ เทพอารักษ์บุญ รอง สวส.สน.พหลโยธิน พร้อมเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ไปตรวจสอบเหตุรถชนขอบสะพานมีผู้เสียชีวิต บริเวณกลางสะพานลอยรถข้ามแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กทม. พบรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิ กาแลนท์ สีน้ำตาล หมายเลขทะเบียน 3 ณ-3243 กรุงเทพมหานคร สภาพชนติดกับแท่งปูนทางแบ่งเลนที่จะเลี้ยวเข้าลานจอดรถรถไฟฟ้ามหานคร จนหม้อน้ำยุบถึงห้องโดยสาร ภายในที่นั่งคนขับพบศพนายจรัญ วัดอ่อน อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 28/2 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. เสียชีวิตคาที่ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เครื่องตัดถ่างช่วยงัดร่างออกไป เบื้องต้นสันนิษฐานว่าผู้ตายขับรถเตรียมจะเลี้ยวซ้ายเข้าลานจอดรถของรถไฟฟ้า มหานคร แต่ด้วยความเร็วสูงไม่สามารถบังคับรถได้ รถจึงพุ่งชนกับแท่งปูนดังกล่าว

รายสุดท้ายเมื่อเวลา 14.30 น. วันเดียวกัน ร.ต.ท. หญิงจันทนา สาตะมาน รอง สวส.สน.สุทธิสาร ไปตรวจสอบเหตุรถชนกันที่ถนนรัชดาภิเษก ฝั่งขาออก บริเวณหน้าร้านบุญถาวร แขวงและเขตดินแดง กทม. พบรถกระบะอีซูซุ สีเทา หมายเลขทะเบียน ลฐ 9119 กรุงเทพมหานคร พลิกคว่ำอยู่กลางถนน ส่วนคนขับบาดเจ็บเล็กน้อย ตรวจสอบด้านหลังรถกระบะมีรถแท็กซี่ ยี่ห้อโตโยต้า สีฟ้า หมายเลขทะเบียน ทม 5380 กรุงเทพมหานคร จอดอยู่ สภาพหม้อน้ำพัง จากการสอบสวนทราบว่ารถทั้งสองขับตามกันมา รถกระบะนำหน้า รถแท็กซี่ตามหลัง เมื่อรถกระบะเบรกกะทันหัน รถแท็กซี่จึงชนท้ายอย่างจังทำให้รถกระบะเสียหลักพลิกคว่ำ แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต อุบัติเหตุดังกล่าวส่งผลให้การจราจรถนนรัชดาภิเษกติดขัดอย่างหนัก



หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2553

ข้่อควรรู้เมื่อติดแก๊ส

1. LPG เป็นก๊าซหุงต้มที่หนักกว่าอากาศ หากมีการรั่วซึม ก๊าซจะเกาะกลุ่มกันอยู่บนพื้นในระดับต่ำ
2. หมั่นตรวจเช็คการรั่วซึมตามจุดต่างๆ ตามความเหมาะสม
3. ควรปิดวาล์วที่ถังแก๊สให้สนิททุกครั้งที่มีการถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ในระบบแก๊ส
4. ไม่ควรเติมแก๊สมากกว่า 80% ของความจุถังก๊าซ
5. ควรระวังประกายไฟในขณะเติมแก๊ส เนื่องจากจะมีการรั่วไหลของแก๊สออกมาในบริเวณหัวเติมแก๊ส
6. ควรจอดรถในที่โล่งมีอากาศถ่ายเทสะดวก หากจำเป็นที่ต้องจอดในที่อับควรปิดวาล์วที่ถังด้วย
7. ควรเหลือแก๊สในถังให้น้อยที่สุดก่อนจะนำรถมาตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์
8. ควรเลือกใช้หัวเทียนที่เหมาะสมกับรถใช้แก๊ส เนื่องจากแก๊ส LPG จะต้องใช้ประกายไฟจากหัวเทียนมากกว่าน้ำมันเบนซิน
อย่างไรก็ตามรถใช้แก๊สก็ยังมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับรถใช้น้ำมัน เนื่องจากได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในเรื่องของความปลอดภัย
ทั้งอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานที่ดีขึ้น โปรแกรมการทำงานของฟังก์ฺชั่นต่างๆที่รอบคอบขึ้น เช่น วาล์วนิรภัย ที่จะทำการปิดล็อคทันที่โดยอัตโนมัติ เมื่อมีเหตุกระแทก
หรือรถชน และในกรณีที่มีแก๊สรั่วออกมาในอัตราที่ผิดปกติ
หากคุณเป็นคนที่ต้องใช้รถอยู่เป็นประจำทุกวัน ทางที่ดีควรหมั่นตรวจเช็คตามระยะทางที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยในตัวเอง และเป็นการบำรุงรักษา
ให้รถอยู่กับเราได้อีกยาวนานและมีความปลอดภัยอีกด้วย

การจดทะเบียนรถติดตั้งแก๊ส ที่กรมการขนส่งทางบก

ยื่นเรื่องที่ สนง.ขนส่งจังหวัดที่จดทะเบียนรถและเตรียมเอกสารที่น่าจะเกี่ยวข้องไปทั้งหมด
เอกสารประกอบการยื่นเรื่อง

1. ใบรับรองการตรวจและทดสอบการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถใช้ก๊าซ ลงนามโดย       วิศวกรผู้ตรวจ (ตัวจริง)
2. สำเนาใบ กว. (คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม) รับรองสิทธิประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ตรวจ ลงนามโดย ประธาน และนายทะเบียน กว. (หน้าตาใบนี้คล้ายประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตร)
3. สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม ลงนามโดยเลขาธิการสภาวิศวกร (ใบนี้คล้ายบัตรประจำตัวทั่วไป มีรูปถ่ายวิศวกรผู้ตรวจด้วย)
4. สำเนาใบนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักรตาม พรบ.รถยนตร์ พ.ศ.2522 เห็นชอบให้วิศวกรผู้ตรวจเป็นผู้ตรวจและทดสอบถังก๊าซรถยนตร์ ลงนามโดยนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักร (ใบนี้ขนาดประมาณบัตรประจำตัวประชาชน)
5. สำเนาใบนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักรตาม พรบ.รถยนตร์ พ.ศ.2522 เห็นชอบให้วิศวกรผู้ตรวจเป็นผู้ตรวจและทดสอบการติดตั้งส่วนควบและเครื่อง อุปกรณ์สำหรับรถยนตร์ที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ลงนามโดยนายทะเบียนทั่วราชอาณาจักร (ขนาดเหมือนข้อ 4)
6. บัตรสี่เหลี่ยมผืนผ้าขอบแดงสำหรับติดหน้ารถ พิมพ์คำว่า "รถใช้ก๊าซ" ด้านหน้ามีข้อความระบุทะเบียนรถหมายเลขถังก๊าซ วันตรวจทดสอบ และชื่อวิศวกรผู้ตรวจ (พิมพ์ลงในบัตรเลย ไม่ใช่มาพิมพ์ดีดใส่ทีหลัง) พร้อมลายเซ็นกำกับ ด้านหลังมีข้อความคำเตือนให้ตรวจสอบการติดตั้งและอุปกรณ์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (เอาไปให้ขนส่งตรวจดูเฉยๆ เสร็จแล้ว จนท.จะคืนให้)
7. สำเนาบัตรข้อ 6 (ทั้งด้านหน้าและหลัง)
8. สำเนาบัตรรับประกันสินค้าจากบริษัทผู้ติดตั้ง (มีข้อความระบุรายละเอียดชุดอุปกรณ์แก๊สและถังแก๊สพร้อมหมายเลขที่ติดอยู่ รายละเอียดทั่วไปของรถที่ติดตั้ง วันรับและสิ้นสุดการประกัน)
9. สำเนาใบเสร็จรับเงินจากบริษัทผู้ติดตั้ง (มีระบุอุปกรณ์ที่ติดตั้งและถังแก๊ส)
10. สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าของรถ
11. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของรถ (อันนี้ที่จริงไม่น่าจำเป็นเพราะเจ้าของรถไปเอง แต่ จนท.ขนส่งมักบอกให้ยื่นมาพร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวทุกครั้งที่มาติดต่อ ก็เลยใส่เข้าไปด้วย)
12. สมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถ ( ตัวจริง )

หมายเหตุ สำเนาทุกใบทั้งของวิศวกรผู้ตรวจและเจ้าของรถ ต้องมีลายเซ็นสำเนาถูกต้องของแต่ละคนกำกับด้วย ( แยกของใครของมัน ไม่ใช่มีทั้งสองคนทุกใบ )

วิธีการดูแลรักษาหลังติดตั้งแก๊ส

  1. เข้ามารับบริการเช็คระยะ ตามบุ๊คเซอร์วิสของแก๊ส
  2. เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับแก๊สให้ใช้น้ำมันไปก่อน
  3. ควรตรวจดูน้ำหม้อน้ำรถ เป็นประจำ

รถทีพร้อมเข้ารับการติดตั้งแก๊สต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

  1. ภาพเครื่องต้องสมบูรณ์
  2. รอบเครื่องต้องนิ่ง
  3. ทางน้ำของเครื่องต้องไม่ตัน
  4. เดินเบา เครื่องไม่สั่น
  5. (เก็บของใช้ออกจากรถด้วยนะครับ)

โปโมชั่นพิเศษประจำเดือนสิงหาคม

ติดตั้งแก๊ส LPG วันนี้ พร้อมแถมฟรีมากมาย

             ติดตั้งชุดอุปกรณ์ SEC ระบบหัวฉีด 2 ระบบ จากอิตาลี รับประกันอุปกรณ์ 2 ปีเต็ม
                              
                    - ยี่ห้อ SEC  26,000 บาท
                    - ประกันอัคคีภัย จากกรุงเทพประกันภัย วงเงิน 500,000 บาท 1ปี ฟรี
                    - ตัดปั้มติ๊กน้ำมัน (ป้องกันปั้มติ๊กน้ำมันพัง) ฟรี
                    - ใบวิศวะ ฟรี
                    - แก๊สเต็มถัง (มูลค่า 500 บาท)
                    - ประกันการติดตั้ง 1ปี
                                        
            ชุดประหยัด จากอิตาลี Emer,PowerJet 24,000 บาท
                  
                   - ประกันอัคคีภัย จากกรุงเทพประกันภัย วงเงิน 500,000 บาท
                   - ตัดปั้มติกน้ำ (ป้องกันปั้มติ๊กน้ำมันพัง)
                   - ใบวิศวะ ฟรี
                    - รับประกันการติดตั้ง 1 ปี
           
           ชุดติดตั้งขั้นเทพ Europegas จากอิตาลี  ระบบหัวฉีด 2 ระบบ ราคาติดตั้ง 28,000 บาท

                                   ศูนย์ติดตั้งแก๊สมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก
                                     สถานที่ตรวจและทดสอบรถใช้ก๊าซ LPG
                        213 ถ.ช่างอากาศอุทิศ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
                                         Tel. 02-929-4595   Fax. 02-565-2788
                       ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกเลขที่ ตปร. 94-2552

                  เขต ดอนเมือง,หลักสี่,ประชาชื่น,เมืองทอง,รังสิต,ปทุมธานี,สะพานใหม่,บางเขน,
                 สอบถามติดต่อ 081-256-4709 ช่างเต่า (ช่างเทคนิค นภัทรเจริญยนต์)